วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ขนมไทยแต่ละประเภท

ขนมไทยประเภทนึ่ง
             หลักการคือการใช้ความร้อนจากไอน้ำในลังถึงส่งผ่านขึ้นมาเพื่อทำให้ขนมสุก ไม่ควรใส่น้ำจนเต็มหรือน้อยเกินไป น้ำที่กำลังดีคือ3/4ของลัง การใช้ไฟของขนมชนิดนึ่งต้องคำนึงถึงลักษณะของขนมด้วย เช่นถ้าเป็นขนมที่มีลักษณะเนื้อเหนียวและเป็นชิ้นก้อควรต้องใช้ไฟที่แรง เช่น ขนมฝักทอง  ขนมชั้นและขนมใส่ไส้ เป็นต้น ส่วนขนมที่ต้องการให้เนื้อขนมมีลักษณะฟู ก้อควรที่จะเบาไฟมาที่ปานกลาง เช่น ขนมปุยฝ้ายและขนมสาลี่


ขนมไทยประเภทกวน
              เป็นขนมไทยที่ต้องใช้ความพิถีพิถันและใช้อุปกรณ์เฉพาะในการประกอบขนมได้แก่ พายไม้ กระทะทองและเตาสำหรับหุงที่มีขนาดที่เหมาะสม เทคนิคสำคัญของขนมประเภทนี้อยู่ที่การกวน คือจะต้องกวนอยู่ตลอดเวลาจนกว่าขนมจะได้ที่ และควรใช้กระทะทองเพราะจะทำให้ง่ายต่อการกวนและที่สำคัญยังคงสีของขนมไว้ไม่ให้เปลี่ยน เทคนิคที่สำคัญอีกอย่างนึงคือผู้กวนควรกวนขนมไปในทิศทางเดียว ควรใช้ไฟปานกลางและพอขนมเริ่มข้นก้อให้ลดไฟลงมาเพื่อไม่ให้ขนมเกาะต้วแข็งเป็นก้อนดูไม่น่ารับประทาน ตัวอย่างของขนมที่ใช้การกวนได้แก่  ขนมเปียกอ่อน  ตะโก้   ซ่าหริ่ม และเผือกกวน

  

ขนมไทยประเภทไข่
              เป็นขนมที่ได้รับความนิยมกันมากเพราะขนมมีรูปลักษณ์สวยงามใช้ฝีมือและความประณีตในการทำเป็นขนมที่ขาดไม่ได้สำหรับงานมงคลต่างๆ เทคนิคที่สำคัญคือการเลือกไข่ซี่งเป็นวัตถุดิบหลักในการทำควรเลือกไข่ที่ใหม่เพราะขนมประเภทนี้ใช้ความข้นของไข่ในการคงรูปของขนมและยังคงความอ่อนนุ่ม ขนมไทยประเภทไข่ที่ได้รับความนิยมได้แก่ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และ  เม็ดขนุน



ขนมประเภทข้าวเหนียวและวุ้น
              การทำขนมประเภทที่ต้องใช้ข้าวเหนียวนั้นควรเลือกข้าวเหนียวที่สะอาดมีลักษณะของเมล็ดที่รียาว ควรล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำมาแช่ไว้อย่างน้อย 3 ชั่วโมงหรือถ้าจะให้ดีก้อทิ้งไว้ค้างคืนก้อได้ หลังจากนั้นนำมานึ่งให้สุกแล้วนำไปมูนเป็น ข้าวเหนียวแดง หรือ  ข้าวเหนียวแก้ว  เป็นต้น ในส่วนของวุ้นนั้นในปัจจุบันสะดวดเพราะมีผงวุ้นขายตามท้องตลาด ซึ่งบรรจุอยู่ในซอง วิธีการสำคัญที่จะทำให้วุ้นดูใสนั้นต้องดูวุ้นที่เคี่ยวกับน้ำนั้นละลายแล้วจึงใส่น้ำตาลตามลงไป ขนาประเภทวุ้นที่เป็นที่นิยมทำกัน เช่น  วุ้นสังขยา และ  วุ้นกะทิ








ขนมไทยประเภทโบราณ
              เป็นขนมที่มีใช้ในงานบุญพิธีบวงสรวงและงานมงคลต่างๆ เพราะชื่อของขนมปะเภทนี้นั้นมีความหมายที่ดี เช่น ทองเอกและ  เสน่ห์จันทร์ ผู้ทำจะต้องมีความชำนาญประณีตละเอียดอ่อนเนื่องด้วยเป็นขนมที่ใช้ออกงานเป็นหลัก ต้องรักษาลักษณะและสีของขนมไว้ตามแบบโบราณ
         

ขนมไทยประเภทอบและอื่นๆ
              เป็นขนมที่ต้องใช้การอบ อุปกรณ์หลักคือเตาอบอุณหภูมิที่ใช้ประมาณ200องศาเซลเซียส ขนมประเภทนี้จะมีกลิ่นที่หอมจากการอบ บางชนิดมีกลิ่นหอมของกะทิหรือผ่านการอบด้วยควันเทียนเช่นขนมเล็บมือนาน ขนมทับทิมกรอบเป็นต้น          
           แหล่งอ้างอิง http://xn--22c6bf6ag6r.net/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97/
แหล่งอ้างอิง: กระยาทิพย์ เรือนใจ.ปั้นแต่งขนมไทย.ต้นมธรรม สำนักพิมพ์.2537

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น